Social Support for Breastfeeding Practice During the COVID-19 Second Wave in Thailand: A Cross-Sectional Study

J Hum Lact. 2023 May;39(2):206-216. doi: 10.1177/08903344231156441. Epub 2023 Mar 18.

Abstract

Background: Since December 2020, the second wave of COVID-19 in Thailand has had a considerable impact, and mothers have struggled to receive breastfeeding support in hospitals. In this situation, there has been limited research that addresses social support for breastfeeding and the influences of support in determining breastfeeding outcomes.

Research aims: (1) To describe the influence of COVID-19 on social support for breastfeeding and breastfeeding practices in the Thai context, and (2) to examine breastfeeding duration with different levels of social support from families and healthcare providers.

Method: This descriptive, cross-sectional online survey design was part of a larger multi-methods project about breastfeeding behaviors and experiences among postpartum mothers during the COVID-19 pandemic. Online questionnaires were administered from August to November 2021 to participants (N = 390) who were from three provinces in Thailand and had given birth 6-12 months prior to the survey.

Results: Exclusive breastfeeding for 6 months was observed in less than half of the participants (n = 146, 37.4%). Perceptions of breastfeeding support were generally high overall among both family (Mdn = 45, IQR = 7) and healthcare providers (Mdn = 43, IQR = 7). Participants who perceived more breastfeeding support from families than the median had significantly longer exclusive breastfeeding durations than those who perceived less breastfeeding support than the median (z = -2.246, p = .025). The same pattern was present for breastfeeding support from healthcare providers (z = -2.380, p = 0.017).

Conclusions: While the exclusive breastfeeding rate was better than the pre-pandemic rate, successful breastfeeding was more common when participants perceived that they had received breastfeeding support. Policymakers should execute breastfeeding support systems along with COVID-19 management.

ความเป็นมา:: นับตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ประเทศไทยมีการระบาดของเชื้อโควิด 19 ระลอกที่สองซึ่งส่งผลกระทบอย่างมาก มารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประสบปัญหาจากขาดการสนับสนุนในโรงพยาบาลจากมาตรการป้องกันการระบาด อย่างไรก็ตามในระยะการระบาดของเชื้อโควิด 19 ยังขาดการศึกษาสถานการณ์การสนับสนุนทางสังคมเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และอิทธิพลของการสนับสนุนทางสังคมต่อผลลัพธ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทย

วัตถุประสงค์การวิจัย:: (1)เพื่ออธิบายผลกระทบของการระบาดของเชื้อโควิด 19 ต่อการสนับสนุนทางสังคมเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการปฏิบัติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และ (2) เพื่อทดสอบความแตกต่างของระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในแต่ละระดับของการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวและบุคลากรทางสุขภาพ

รูปแบบการวิจัย:: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยแบบพหุวิธีเกี่ยวกับพฤติกรรมและประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอดที่เผชิญสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทางออนไลน์ตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 กลุ่มตัวอย่าง 390 รายใน 3 จังหวัดของประเทศไทย ซึ่งเป็นมารดาหลังคลอดบุตรระหว่าง 6-12 เดือน

ผลการวิจัย:: กลุ่มตัวอย่างที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนมีจำนวนน้อยกว่าครึ่ง (n = 147, 37.4%) การรับรู้การสนับสนุนทางสังคมเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยรวมอยู่ในระดับสูงทั้งการสนับสนุนจากครอบครัว (Mdn = 45, IQR = 7) และการสนับสนุนจากบุคลากรทางสุขภาพ (Mdn = 43, IQR = 7) กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวที่มีค่ามัธยฐานสูงกว่าจะมีระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนานกว่ากลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (z = −2.246, p = 0.025) เช่นเดียวกับการสนับสนุนทางสังคมจากบุคลากรทางสุขภาพ (z = −2.380, p = 0.017)

สรุป:: การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวมีอัตราที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการระบาดของเชื้อโควิด 19 การสนับสนุนทางสังคมนั้นเป็นปัจจัยที่ทราบแน่ชัดว่ามีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านนโยบายควรพัฒนาระบบการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควบคู่กับการบริหารจัดการการระบาดของเชื้อโควิด 19

Back translation by:, Wilaiporn Rojjanasrirat, PhD, RN, IBCLC

Keywords: Covid-19; Exclusive Breastfeeding Support Scale; Thailand; breastfeeding; health provider support in breastfeeding; online survey; postpartum; social support.

MeSH terms

  • Breast Feeding*
  • COVID-19* / prevention & control
  • Cross-Sectional Studies
  • Female
  • Humans
  • Infant
  • Mothers
  • Pandemics
  • Social Support
  • Thailand